วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทย

        ประเทศไทยได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในปี พ.ศ.2506 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยสนับสนุนจากมูลนิธิเอไอดีและบริษัทไอบีเอ็ม เพื่อใช้ในการศึกษา ต่อมาปี พ.ศ2507สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้นำเอาเข้ามาเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1401มาใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีใช้ในประเทศ ปัจจุบันได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานทุกด้านอย่างแพร่หลาย  
คอมพิวเตอร์ ในประเทศไทย
             ผู้ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการริเริ่ม  กระตุ้น ติดต่อดำเนิน การให้มีคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทยได้แก่
ศาสตราจารย์ บัญฑิต   กัณตะบุตร ผู้ซึ่งเป็นทั้งหัวหน้า ภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติ  
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาในประเทศไทยเป็นเครื่องแรก  คือ  IBM 1620 
( ในขณะนั้นประมาณสองล้านบาทเศษ ) เข้ามาติดตั้งอยู่ ณ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   เพื่อช่วยในการพัฒนาสถิติของประเทศเน้นในด้านการปฏิบัติงานสำมะโน
และในด้านการค้นคว้า และวิจัยนานาประการ  หลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ก็สนใจส่ง
เจ้าหน้าที่มาดูการ ปฏิบัติงานของเครื่องอีกด้วย เพราะประเทศของเขาเองยังไม่มี    ปัจจุบัน (พ.ศ. 2553)
เครื่องนี้อยู่ที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพ    
           ปี พ.ศ.2507 เดือนมีนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สอง ได้แก่ IBM 1401
( มูลค่าประมาณ 8 ล้านบาท )  ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ   
           ปี พ.ศ.2507 มีการเริ่มนำคอมพิวเตอร์ เข้าไปใช้กับธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย
คือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยกับธนาคารกรุงเทพ
           ปี พ.ศ.2517 ตลาดหลักทรัพย์นำมินิคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยงานการซื้อขายหุ้น 

www.pattana.ac.th

คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้หรือไม่

ตอบ ได้ค่ะ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิค  และมนุษย์ต้องสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน  สาเหตุอาจเกิดจากระยะเวลาใช้งานที่นาน  เกิดความร้อนเป็นต้น  และได้ยกตัวอย่างมาพอสังเขปดังนี้


จอฟ้ามรณะ (Blue Screen Of Death ,BSOD) คือสถานการณ์ที่ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้อง ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ โดยเฉพาะวินโดวส์ (Windows) หน้าจอสีน้ำเงินหรือสีฟ้าเช่นในเอกซ์บอกซ์  การแสดงจอฟ้ามรณะจะทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงานทันที เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบ
สาเหตุหลักของการเกิดจอฟ้ามรณะในวินโดวส์ตระกูลเอ็นที คือไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ภายนอก ไม่มีประสิทธิภาพ หรือฮาร์ดแวร์ทำงานผิดปกติ   ส่วนในวินโดวส์ตระกูล 9x การใช้งาน DLL ที่เข้ากันไม่ได้กับระบบ หรือบั๊กที่เกิดขึ้นในเคอร์เนล  ก็สามารถทำให้เกิดจอฟ้ามรณะได้ นอกจากนั้นจอฟ้ามรณะสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติทางกายภาพ เช่นความผิดปกติของหน่วยความจำ ปัญหาการจ่ายไฟฟ้า ส่วนประกอบที่มีความร้อนสูงเกินกำหนด (overheat) หรือฮาร์ดแวร์ที่ทำงานเกินกว่าขีดจำกัดที่กำหนดไว้
แนวโน้มอีกประการหนึ่งของการใช้คอม-พิวเตอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ คือ การให้ความสำคัญมากขึ้นกับการป้องกันความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์   และแม้กระทั่งชีวิตมนุษย์ ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์มีอยู่ ๓ แบบด้วยกันคือ ความผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ ความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ และความผิดพลาดจากผู้ใช้ กรณีครอบคลุมไปถึงความปลอดภัยของทรัพย์สิน กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องการรับผิดชอบกิจการงาน ซึ่งบาง
          ความผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ (hardware error) คือ การที่อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งชิ้นใดอาจจะเสียเช่น ชิปหน่วยความจำเสีย หรือค่าหายไปหนึ่งบิตในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ความผิด  พลาดของซอฟต์แวร์ (software error) แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ออกแบบผิด และเขียนคำสั่งโปรแกรมผิด ตัวอย่างเช่น หากโปรแกรมจัดการของธนาคารลืมให้การคุ้มครองการเบิกเงินเกินบัญชีแก่ลูกค้าที่เพิ่งเปิดบัญชีกระแสรายวันใหม่ก็ถือว่าข้อมูลของบัญชีนั้นผิดพลาด ซึ่งอาจจะทำให้เช็คเด้ง และลูกค้าเสียเครดิตได้
เนื่องจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์เกิดขึ้นได้บ่อย มีผลเสียมาก และเกิดขึ้นได้ง่ายอีกด้วย เราจึงต้องอธิบายถึงความรับผิดชอบของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ให้ชัดเจน
          การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ผู้อื่นใช้งาน และการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้เอง หรือสำหรับส่งเป็นการบ้าน จะมีความแตกต่างกันอย่างมากถ้าเราพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ผู้อื่นใช้ เราก็จะต้องมีความสัมพันธ์บางอย่างกับผู้ใช้ ซึ่งความสัมพันธ์นี้มีทั้งด้านกฎหมายและจริยธรรม ผลประโยชน์ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะได้รับคือ เงิน ความเคารพในตัวเอง ความพึงพอใจที่สามารถเอาชนะความท้าทายทางปัญญา และความพอใจที่ได้ทำงานช่วยเหลือผู้อื่น แต่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ก็มีภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบดูแล